เมนู

แต่ไกลเทียว แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า กุลบุตรนี้ย่อมงามด้วยสมบัติ
2 อย่าง คือมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงาม
ยิ่งนัก และกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตร
ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย
ตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[702] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-
กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
ภิกษุนี้ย่อมงามด้วยใจอันซื่อตรงหนอ เป็นผู้หลุดพ้น
เป็นผู้พราก เป็นผู้ดับ เพราะไม่ถือมั่น ชำนะมาร
พร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีใน
ที่สุด ดังนี้.

จบสุชาตสูตรที่ 5

อรรถกถาสุชาตสูตรที่ 5



ในสุชาตสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อภิรูโป ได้แก่ มีรูปงามล้ำรูปอื่น ๆ. บทว่า ทสฺสนีโย
ได้แก่ ควรทัศนา. บทว่า ปาสาทิโก ได้แก่ สามารถที่จะให้ใจแจ่มใสใน
การดู. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่ด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม.
จบอรรถกถาสุชาตสูตรที่ 5

6. ภัททิยสูตร



ว่าด้วยเรื่องพระลกุณฏกภัททิยะ



[703] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
ลกุณฏกภัททิยะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
[704] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ-
ลกุณฏกภัททิยะมาแต่ที่ไกลเทียว แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือไม่ ซึ่งภิกษุกำลังมาอยู่โน่น มีวรรณะไม่งาม
ไม่น่าดู เตี้ย เป็นที่ดูแคลนของภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่นแล มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็ได้โดยง่าย เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด
แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[705] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-
กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปนี้ว่า
สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกะเรียน นกยูง ช้าง
เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์ ความเสมอกัน
ในกายไม่มี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น